ดาวน์โหลดสกินที่ http://flash-mini.com/skinhi5/

วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553


จากที่เธอได้เรียนวิชาการจัดการชั้นเรียนโดยใช้WeblogหรือฺBlog ผู้เรียนเห็นว่าการใช้งานนี้มีจุดเด่นจุดด้อยอย่างไรให้แสดงความคิดเห็นได้เต็มที่ เพื่อจะนำไปพัฒนาใช้ในโอกาสต่อไป แสดงความคิดเห็นให้ก่อนสอบจะเป็นคะแนนช่วยเพิ่มเติ่ม
ตอบ จุดเด่น
- ทำให้การเรียนน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ผู้เรียนไม่รู้สึกเบื่อหน่ายกับการเรียนวิชานี้
- ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ weblog ซึ่งเป็นความรู้ใหม่ที่ทันสมัย เหมาะกับการเป็นครูพันธุ์ใหม่ด้วย
- ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้จากการใช้ weblog นำไปประยุกต์ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนในการเป็นครูในอนาคตได้ด้วย
- การเรียนผ่าน weblog ยังเป็นการเรียนที่ทันสมัย และสะดวกสบายต่อผู้สอนละผู้เรียน
- นักศึกษาบางคนที่ถนัดในเรื่องนี้ก็สามารถนำความรู้เรื่อง weblog ไปประกอบเป็นอาชีพเสริมได้ด้วย
- Weblog เป็นสื่อการเรียนที่กว่างไกล ทำให้ผู้เรียนมีความรู้ที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น
- นอกจากเราจะได้ความรู้แล้ว เรายังสามารถเผยแพร่ความรู้ให้ผู้อื่นได้ศึกษาผ่าน weblog ของเราได้อีกด้วย
- การสร้าง weblog เป็นของตนเอง ยังเป็นการเก็บสะสมผลงาน และโชว์ผลงานของเราให้กับผู้อื่นได้ชื่นชมด้วย
จุดด้อย
- การใช้ weblog ในการเรียนรายวิชานี้ไม่ค่อยสอดคล้องกับเนื้อหาของรายวิชาที่เรียน
- ต้องทุ่มเทเวลาให้กับการตกแต่งหรือกรอกข้อมูลลงไปใน weblog- การใช้ weblog จะเกิดปัญหามากถ้าไม่มีสัญญาณอินเตอร์เน็ต เพราะการใช้ weblog จะต้องมีสัญญาณอินเตอร์เน็ตเท่านั้น- ข้อมูลบางอย่างเราไม่สามารถเผยแพร่ทาง weblog ได้


คำสั่ง ให้นักเรียนทำข้อสอบโดยการแสดงความคิดเห็นสะท้อนข้อคิดพร้อมยกตัวอย่างประกอบในการแสดงความคิดเห็นให้เป็นเหตุเป็นผลของผู้เรียน อาจารย์จะอ่านข้อคิดเห็นที่เป็นเหตุเป็นผลต่อกัน เขียนใน Weblog ให้ชวนอ่าน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้


ข้อที่ 1 กรณีที่เกิดความวุ่นวายของบ้านเมืองโดยเฉพาะผู้นำประเทศที่ผ่านมา ท่านในฐานะเป็นครูพันธ์ใหม่ ท่านจะแสดงความคิดเห็น อดีตนายกทักษิณ ทั้งข้อดีและข้อเสียของท่าน หากพิจารณาข้อดีและข้อเสียท่านจะนำมาสอนให้ผู้เรียนเกิดความคิดที่จะเป็นผู้นำที่ดีได้อย่างไร

ตอบ จากในกรณีที่เกิดความวุ่นวายในสมัยนายกทักษิณ ในสมัยที่ทานเป็นนายกมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ดังต่อไปนี้

ข้อดี คือ ในช่วงนั้นเศรษฐกิจมีความรุ่งเรืองมาก ที่เด่นชัดในด้านเกษตรกรรม ราคายางพาราที่สูงทำให้ชีวิต ชาวสวนยางมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และท่านได้ปราบปรามเรื่องยาเสพติดได้อย่างเข้มแข็ง

ข้อเสีย คือ การยึดเอาความคิดตัวเองเป็นหลัก เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน มากกว่าส่วนรวม คิดจะ ล้มล้างพระมหากษัตริย์ จะปฏิรูปการปกครองมาเป็นแบบประธานาธิบดี ไม่สนใจประชาชน คิดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว ที่สำคัญคือ เห็นแก่เงินในความคิดของข้าพเจ้าคิดว่านายทักษิณขาดคุณธรรมและจริยธรรมในการเป็นผู้นำ ถ้าข้าพเจ้าเป็นครูพันธ์ใหม่ จะสอนให้ผู้เรียนรู้ว่า ผู้นำที่ดีจะต้องมีคุณธรรมและจริยธรรมในตนเอง ความหมายของจริยธรรม คือ หลักแห่งความประพฤติที่ชอบธรรม หรือเป็นหลักปฏิบัติที่ได้รับการยกย่องจากสังคมว่าเป็นสิ่งที่ถูกที่ควร เราสามารถศึกษาจริยธรรมของสังคมหนึ่ง ๆ ได้จากขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม และศีลธรรม ไม่ควรเป็นคนที่เห็นแก่ตัว ยึดความคิดตัวเองเป็นใหญ่เหมือนกับนายทักษิณ ถ้าผู้เรียนมีจริยธรรม และคุณธรรมในตนเองได้ ผู้เรียนก็จะเป็นผู้นำที่ดีได้ แต่ถึงอย่างไรก็ตามคนเราทุกคนก็ย่อมมีทั้งข้อดีและข้อเสียเช่นเดียวกับนายทักษิณ ดังนั้นเราควรเลือกในส่วนที่เป็นข้อดีของท่านมาประยุกต์ใช้ให้เกิดผลกับตัวเรา ส่วนด้านข้อเสียเราก็อย่านำเอามายึดเป็นแบบอย่าง ถ้าผู้เรียนทำได้ดังนี้ท่านก็จะสามารถเป็นผู้นำที่ดีและมีประสิทธิภาพได้

ได้ดังนี้ท่านก็จะสามารถเป็นผู้นำที่ดีและมีประสิทธิภาพได้


ข้อที่ 2 การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนที่จะให้มีประสิทธิภาพท่านจะมีวิธีคิดอย่างไรหากท่านเป็นครูที่ดีควรเตรียมการเป็นที่ครูที่ดีอย่างไรให้ท่านแสดงความคิดเห็นของท่านเอง
ตอบ ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ จะต้องจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มากกว่าการให้ผู้เรียนฟังครูบรรยายตลอดบทเรียน ครูจะใช้เวลาไม่มากให้ข้อมูลเบื้องต้น เวลาส่วนใหญ่จะเน้นให้ผู้เรียนได้ ทำกิจกรรม เช่น อภิปรายกลุ่มย่อย ศึกษาข้อมูล จากตำรา ห้องสมุดหรือจากอินเทอร์เน็ต ระดมความคิด นำเสนอผลงานในฐานะที่ข้าพเจ้าจะเป็นครูในอนาคตข้าพเจ้าจะสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ จัดทำแผนการสอนล่วงหน้าก่อนที่จะสอน เพื่อให้การสอนเป็นไปอย่างมีระบบระเบียบ มีการเตรียมสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัยและหลากหลาย เพื่อนำไปประกอบการเรียนการสอน และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้มากที่สุด และข้าพเจ้าพยายามทำตัวเป็นกันเองกับนักเรียนเพื่อไม่ให้นักเรียนตึงเครียดในการเรียนรู้ ข้าพเจ้าจะศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่จะสอนเพิ่มเติมพร้อมที่จะนำไปสอนอยู่เสมอ และจะทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีของนักเรียน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการแต่งการ การพูดจา บุคคลิกภาพ รวมไปถึงการมีอัธยาศัยที่ดีต่อบุคคลรอบข้างด้วยส่วนการจัดบรรยากาศในห้องเรียนก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ลืมไม่ได้ ข้าพเจ้าจะจัดห้องเรียนให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก มีการตกแต่งป้ายนิเทศภายในห้องเพื่อให้เกิดสีสันที่น่าสนใจและทำให้ผู้เรียนไม่เบื่อหน่าย กระตือรือร้นมากยิ่งขึ้น


ข้อที่ 3 ในฐานะท่านเป็นครูพันธ์ใหม่ ท่านจะนำนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนมาใช้การเรียนการสอนแบบใหม่ได้อย่างไร
ตอบ

- นำนวัตกรรมใหม่ๆ เช่น การสอนผ่าน weblog มาเป็นสื่อในการเรียนการสอน ซึ่งช่วยให้ผู้เรียนสนใจและกระตือรือร้นที่จะเรียนมากยิ่งขึ้น และไม่เบื่อหน่าย

- นำไปปรับปรุงและประยุกต์จากแนวการสอนแบบเดิมๆ ซึ่งเป็นการสอนที่เน้นการบรรยายเพียงอย่างเดียวและยึดครูเป็นสำคัญ มาเป็นการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ

- การสร้างสื่อแบบมัลติมีเดีย เช่น ในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นครูคณิตศาสตร์ก็จะสอนนักเรียนป่านโปรแกรม GSP ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติไปพร้อมๆ กับตัวผู้สอน ซึ่งทำให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น

- จะนำไปสร้างสื่อการสอนที่ใหม่ๆ อยู่เสมอ


ข้อที่ 4 การประกันคุณภาพมีความสำคัญต่อการบริหารจัดการในชั้นเรียนได้อย่างไร
ตอบ การประกันคุณภาพมีความสำคัญต่อการบริหารจัดการในชั้นเรียน คือ ทำให้มีการจัดกระบวนการเรียนการสอนที่ดีและมีระบบมากยิ่งขึ้น เพราะมีการประกันคุณภาพ ทำให้ผู้เรียนและผู้ปกครองเกิดความเชื่อมั่นและไว้ใจในการบริหารจัดการในชั้นเรียนของเรา และยังเป็นการยกระดับคุณภาพของโรงเรียนให้สูงขึ้น และทำให้ผู้เรียนมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ทำให้ได้รับความไว้วางใจจากผู้ปกครอง และส่งนักเรียนเข้ามารับการศึกษาในสถานศึกษานั้นๆ เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย


ข้อที่ 5 ให้ผู้เรียนประเมินผู้สอนทั้งข้อดีข้อเสียและข้อเสนอแนะเพื่อที่จะนำไปปรับปรุงการเรียนการสอนต่อไป
ตอบ ข้อดี

- ตรงต่อเวลา

- เอาใจใส่ผู้เรียนได้อย่างทั่วถึง

- มีรูปแบบการสอนที่ทันสมัย

- เป็นผู้มีความรู้ด้านเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำทันกับโลกในยุคปัจจุบัน

- มีสื่อการสอนที่ทันสมัย

- รับฟังความคิดเห็นของนักศึกษา

- ให้คำปรึกษาที่ดีในทุกเรื่อง

- บุคลิกภาพดี แต่งกายสุภาพเรียบร้อย

- มีอัธยาศัยดีต่อนักศึกษา

- สอนให้ผู้เรียนเข้าใจและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้สำหรับอาชีพการเป็นครูในอนาคตได้
ข้อเสีย

- บางครั้งอาจารย์สอนและพูดเร็วเกินไป จนนักศึกษาตามไม่ทัน

- การที่อาจารย์ให้นักศึกษาส่งงานผ่านเวปบล๊อก ทำให้เกิดปัญหาแก่นักศึกษาบางคนที่ไม่มีคอมพิวเตอร์

- อาจารย์ไม่มีการ comment ให้นักศึกษาหลังจากการรายงาน
ข้อเสนอแนะ
- อยากให้อาจารย์สอนและอธิบายให้ช้าลงกว่าเดิม

- อยากให้อาจารย์นำนักศึกษาไปสังเกตและสัมผัสกับการจัดชั้นเรียนในโรงเรียน เพื่อให้นักศึกษาได้พบกับประสบการณ์จริง และสามารถนำมาใช้ประยุกต์ใช้ในการจัดเรียนการสอนให้กับนักเรียนของเราได้ในอนาคต

วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553



การจัดชั้นเรียนที่ดี
ความหมายของการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนการจัดบรรยากาศในชั้นเรียน หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน เพื่อช่วยส่งเสริมให้กระบวนการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยสร้างความสนใจใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษา ตลอดจนช่วยสร้างเสริมความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียนความสำคัญของการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนบรรยากาศในชั้นเรียนเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความสนใจในบทเรียนและเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น การสร้างบรรยากาศที่อบอุ่น ที่ครูให้ความเอื้ออาทรต่อนักเรียน ที่นักเรียนกับนักเรียนมีความสัมพันธ์ฉันท์มิตรต่อกันที่มีระเบียบ มีความสะอาด เหล่านี้เป็นบรรยากาศที่นักเรียนต้องการ ทำให้นักเรียนมีความสุขที่ได้มาโรงเรียนและในการเรียนร่วมกับเพื่อนๆ ถ้าครูผู้สอนสามารถสร้างความรู้สึกนี้ให้เกิดขึ้นต่อนักเรียนได้ ก็นับว่าครูได้ทำหน้าที่ในการพัฒนาเยาวชนของประเทศชาติให้เติบโตขึ้นอย่างสมบรูณ์ทั้งทางด้านสติปัญญา ร่างกาย อารมณ์ และสังคม โดยแท้จริง ดังนั้น การสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งประมวลได้ดังนี้

1. ช่วยส่งเสริมให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างราบรื่น เช่น ห้องเรียนที่ไม่คับแคบจรเกินไป ทำให้นักเรียนเกิดความคล่องตัวในการทำกิจกรรม

2. ช่วยสร้างเสริมลักษณะนิสัยที่ดีงามและความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียน เช่น ห้องเรียนที่สะอาด ที่จัดโต๊ะเก้าอี้ไว้อย่างเป็นระเบียบ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน นักเรียนจะซึมซับสิ่งเหล่านี้ไว้โดยไม่รู้ตัว

3. ช่วยส่งเสริมสุขภาพที่ดีให้แก่ผู้เรียน เช่น มีแสงสว่างที่เหมาะสม มีที่นั่งไม่ใกล้กระดานดำมากเกินไป มีขนาดโต๊ะและเก้าอี้ที่เหมาะสมกับวัย รูปร่างของนักเรียนนักศึกษา ฯลฯ

4. ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ และสร้างความสนใจในบทเรียนมากยิ่งขึ้น เช่น การจัดมุมวิชาการต่าง ๆ การจัดป้ายนิเทศ การตกแต่งห้องเรียนด้วยผลงานของนักเรียน

5. ช่วยส่งเสริมการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม เช่น การฝึกให้มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อกัน การฝึกให้มีอัธยาศัยไมตรีในการอยู่ร่วมกัน ฯลฯ

6. ช่วยสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนและการมาโรงเรียน เพราะในชั้นเรียนมีครูที่เข้าใจนักเรียน ให้ความเมตตาเอื้ออารีต่อนักเรียน และนักเรียนมีความสัมพันธ์อันดีต่อกันกล่าวโดยสรุปได้ว่า การจัดบรรยากาศในชั้นเรียนจะช่วยส่งเสริมและสร้างเสริมผู้เรียนในด้านสติปัญญา ร่างกาย อารมณ์ และสังคมได้เป็นอย่างดี ทำให้นักเรียนเรียนด้วยความสุข รักการเรียน และเป็นคนใฝ่เรียนใฝ่รู้ในที่สุดบรรยากาศที่พึงปรารถนาในชั้นเรียนในการจัดการเรียนการสอน ผู้สอนต่างปรารถนาให้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างราบรื่น และผู้เรียนเกิดพฤติกรรมตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ในหลักสูตร บรรยากาศในชั้นเรียนมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมให้ความปรารถนานี้เป็นจริงบรรยากาศในชั้นเรียนที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการสอน จัดแบ่งได้ 6 ลักษณะ สรุปได้ดังนี้

1. บรรยากาศที่ท้าทาย (Challenge) เป็นบรรยากาศที่ครูกระตุ้นให้กำลังใจนักเรียนเพื่อให้ประสบผลสำเร็จในการทำงาน นักเรียนจะเกิดความเชื่อมั่นในตนเองและพยายามทำงานให้สำเร็จ

2. บรรยากาศที่มีอิสระ (Freedom) เป็นบรรยากาศที่นักเรียนมีโอกาสได้คิด ได้ตัดสินใจเลือกสิ่งที่มีความหมายและมีคุณค่า รวมถึงโอกาสที่จะทำผิดด้วย โดยปราศจากความกลัวและวิตกกังวล บรรยากาศเช่นนี้จะส่งเสริมการเรียนรู้ ผู้เรียนจะปฏิบัติกิจกรรมด้วยความตั้งใจโดยไม่รู้สึกตึงเครียด

3. บรรยากาศที่มีการยอมรับนับถือ (Respect) เป็นบรรยากาศที่ครูรู้สึกว่านักเรียนเป็นบุคคลสำคัญ มีคุณค่า และสามารถเรียนได้ อันส่งผลให้นักเรียนเกิดความเชื่อมั่นในตนเองและเกิดความยอมรับนับถือตนเอง

4. บรรยากาศที่มีความอบอุ่น (Warmth) เป็นบรรยากาศทางด้านจิตใจ ซึ่งมีผลต่อความสำเร็จในการเรียน การที่ครูมีความเข้าใจนักเรียน เป็นมิตร ยอมรับให้ความช่วยเหลือ จะทำให้นักเรียนเกิดความอบอุ่น สบายใจ รักครู รักโรงเรียน และรักการมาเรียน

5. บรรยากาศแห่งการควบคุม (Control) การควบคุมในที่นี้ หมายถึง การฝึกให้นักเรียนมีระเบียบวินัย มิใช่การควบคุม ไม่ให้มีอิสระ ครูต้องมีเทคนิคในการปกครองชั้นเรียนและฝึกให้นักเรียนรู้จักใช้สิทธิหน้าที่ของตนเองอย่างมีขอบเขต

6. บรรยากาศแห่งความสำเร็จ (Success) เป็นบรรยากาศที่ผู้เรียนเกิดความรู้สึกประสบความสำเร็จในงานที่ทำ ซึ่งส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีขึ้น ผู้สอนจึงควรพูดถึงสิ่งที่ผู้เรียนประสบความสำเร็จให้มากกว่าการพูดถึงความล้มเหลว เพราะการที่คนเราคำนึงถึงแต่สิ่งที่ล้มเหลว เพราะการที่คนเราคำนึงถึงแต่ความล้มเหลวจะมีผลทำให้ความคาดหวังต่ำ ซึ่งไม่ส่งเสริมให้การเรียนรู้ดีขึ้นบรรยากาศทั้ง 6 ลักษณะนี้ มีผลต่อความสำเร็จของผู้สอนและความสำเร็จของผู้เรียนผู้สอนควรสร้างให้เกิดในชั้นเรียน
ลักษณะของชั้นเรียนที่ดีเพื่อให้การจัดชั้นเรียนที่ถูกต้องตามหลักการ ผู้สอนควรได้ทราบถึงลักษณะของชั้นเรียนที่ดี สรุปได้ดังนี้

1. ชั้นเรียนที่ดีควรมีสีสันที่น่าดู สบายตา อากาศถ่ายเทได้ดี ถูกสุขลักษณะ

2. จัดโต๊ะเก้าอี้และสิ่งที่ที่อยู่ในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน และกิจกรรมประเภทต่างๆ

3. ให้นักเรียนได้เรียนอย่างมีความสุข มีอิสรเสรีภาพ และมีวินัยในการดูแลตนเอง

4. ใช้ประโยชน์ชั้นเรียนให้คุ้มค่า ครูอาจดัดแปลงให้เป็นห้องประชุม ห้องฉายภาพยนตร์และอื่น ๆ

5. จัดเตรียมชั้นเรียนให้มีความพร้อมต่อการสอนในแต่ละครั้ง เช่น การทำงานกลุ่ม การสาธิตการแสดงบทบาทสมมุติ

6. สร้างบรรยากาศให้อบอุ่น ให้ความเป็นกันเองกับผู้เรียนรูปแบบการจัดชั้นเรียนการจัดชั้นเรียนจัดได้หลายรูปแบบ โดยจัดให้เหมาะสมกับบทเรียน กิจกรรมการเรียนการสอน จำนวนนักเรียน สภาพแวดล้อมในชั้นเรียน ขนาดของห้องเรียน เป็นต้น ครูควรได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบของการจัดโต๊ะ เก้าอี้ มุมวิชาการ และมุมต่าง ๆ ในห้องเรียน เพื่อสร้างบรรยากาศของห้องเรียนให้น่าสนใจไม่ซ้ำซากจำเจ ไม่น่าเบื่อหน่าย นักเรียนจะเกิดความกระตือรือร้นและกระฉับกระเฉงในการเรียนดีขึ้น

การจัดชั้นเรียนถ้าแบ่งตามวิธีการสอนจะได้ 2 แบบ คือ

1. ชั้นเรียนแบบธรรมดา

2. ชั้นเรียนแบบนวัตกรรมการจัดบรรยากาศในชั้นเรียน เป็นสิ่งสำคัญในการช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนและส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถรับผิดชอบควบคุมดุแลตนเอง ได้ในอนาคต การจัดบรรยากาศมีทั้งด้านกายภาพ เป็นการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนทั้งการจัดตกแต่งในห้องเรียน จัดที่นั่ง จัดมุมเสริมความรู้ต่างๆ ให้สะดวกต่อการเรียนการสอน ทางด้านจิตวิทยา เป็นการสร้างความอบอุ่น ความสุขสบายใจให้กับผู้เรียน ผู้สอนควรจัดบรรยากาศทั้ง 2 ด้านนี้ให้เหมาะสม นอกจากนี้การสร้างบรรยากาศการเรียนรุ้ให้เกิดความสุขแก่ผู้เรียนเป็นองค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งที่จะสร้างคุณลักษณะนิสัยของการใฝ่เรียนรู้ การมีนิสัยรักการเรียนรู้ การเป็นคนดี และการมีสุขภาพจิตที่ดี สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขทั่งในปัจจุบันและอนาคตต่อไป ซึ่งบุคคลสำคัญที่จะสร้างบรรยากาศการเรียนรู้อย่างมีความสุขให้เกิดขึ้นได้คือ ครูผู้นำทางแห่งการเรียนรู้นั่นเอง

ใบงานที่ 9

บุคคลที่คุณคิดว่าเป็นผู้นำในทัศนคติของคุณ

คือ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ

ประวัติทั่วไป

"นายสุเทพ เทือกสุบรรณ" เกิดวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 เป็นบุตรนายจรัส เทือกสุบรรณกำนันตำบลท่าสะท้อน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี และนางละม้าย เทือกสุบรรณ มีพี่น้องท้องเดียวกัน 7 คนคือ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ นางศิริรัตน์กับนางรัชนี (เป็นคู่แฝด) นายเชน เทือกสุบรรณ นางจิราภรณ์ เทือกสุบรรณ นายธานี เทือกสุบรรณ และนางกิ่งกาญจน์ เทือกสุบรรณ
นายสุเทพสำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต (รัฐศาสตร์) จาก
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2515 และสำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาโท M.A. Political Sciences จาก Middle Tennesse State University ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2518 หลังจากสำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาโทกลับมา นายสุเทพได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น กำนันตำบลท่าสะท้อน ต่อจากกำนันจรัส ผู้เป็นบิดา และชนะเลือกตั้ง ทำให้ได้เป็นกำนัน ขณะมีอายุเพียงประมาณ 26 ปี โดยมีวุฒิการศึกษาระดับ ปริญญาโทจากเมืองนอก ขณะที่ประเทศไทยในช่วงนั้น รัฐมนตรีบางกระทรวง ยังจบการศึกษา แค่ประถมศึกษาปีที่ 4[ต้องการอ้างอิง]
ต่อมานายสุเทพตัดสินใจลงเล่นการเมืองระดับประเทศ โดยลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทำให้ตำแหน่งกำนันตำบลท่าสะท้อนว่างลง และมีน้าชายของนายสุเทพมาดำรงตำแหน่งต่อ และตามด้วย
นายธานี เทือกสุบรรณ ผู้เป็นน้องชายของนายสุเทพ มาดำรงตำแหน่งต่ออีก 10 ปี จนลาออก เพื่อลงเล่นการเมืองระดับจังหวัด ในที่สุดกำนันจรัส บิดาของนายสุเทพ ได้กลับเข้าดำรงตำแหน่ง กำนันตำบลท่าสะท้อน อีกครั้งหนึ่งด้วยวัย 76 ปี โดยได้รับเลือกตั้งอย่างไร้คู่แข่งขัน กลายเป็นเจ้าของสถิติ กำนันผู้มีอายุสูงที่สุดในประเทศไทยปัจจุบันนายสุเทพ เทือกสุบรรณ สมรสกับ นางศรีสกุล พร้อมพันธุ์ ซึ่งเป็นน้องสาวของนายนิพนธ์ พร้อมพันธ์ และอดีตภรรยาของนายพรเทพ เตชะไพบูลย์ มีบุตรชาย 1 คน บุตรสาว 2 คน คือ นายแทน เทือกสุบรรณ, น.ส.น้ำตาล เทือกสุบรรณ และ น.ส.น้ำทิพย์ เทือกสุบรรณ


การทำงานการเมืองระดับประเทศ
นายสุเทพ เข้าสู่วงการเมืองระดับประเทศ ได้เป็น ส.ส.จังหวัดสุราษฎร์ธานี สมัยแรกเมื่อปี พ.ศ. 2522 และหลังจากนั้นสามารถชนะเลือกตั้ง ได้เป็น ส.ส. อย่างต่อเนื่องถึง 10 สมัย และดำรงตำแหน่งสำคัญระดับรัฐมนตรี คือ รัฐมนตรีช่วยว่าการ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2 สมัย และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
สมัยเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายสุเทพถูกพรรคฝ่ายค้านคือ พรรคชาติไทย ที่มีนายบรรหาร ศิลปอาชาเป็นหัวหน้าพรรค เปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ กรณีเกิดการทุจริตในการแจกที่ดินทำกินแก่เกษตรกร หรือที่เรียกกันว่า สปก.4-01 โดยในครั้งนั้นพรรคชาติไทยมี นายเนวิน ชิดชอบ เป็นกำลังสำคัญนำอภิปรายใน สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งส่งผลให้ นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีต้องตัดสินใจ ยุบสภา ก่อนที่จะมีการลงมติ และจัดให้มีการ เลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2538 ซึ่งผลการเลือกตั้ง พรรคชาติไทย ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล โดย นายบรรหาร ศิลปอาชา ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็น นายกรัฐมนตรี คนที่ 21 ของประเทศไทย ส่วนนายเนวินได้ขึ้นดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรี เป็นครั้งแรกในชีวิต ด้วยตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
แม้ว่านับตั้งแต่ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจในปี พ.ศ. 2538 นายสุเทพ ไม่เคยถูกฟ้องร้องดำเนินคดีในชั้นศาลเกี่ยวกับกรณี สปก.4-01 แต่อย่างใด (แต่ศาลฎีกาพิพากษาสั่งให้ ทศพร เทพบุตร ออกจากที่ดินหลวงที่ยึดครองเป็นสมบัติส่วนตัวนานถึง 12 ปี) แต่ยังคงมีการนำกรณีดังกล่าว มาอ้างอิงเพื่อโจมตีทางการเมืองต่อนายสุเทพ และพรรคประชาธิปัตย์มาโดยตลอด
นายสุเทพ เคยดำรงตำแหน่งเป็น รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ระหว่างปี พ.ศ. 2542-2546 ดำรงตำแหน่ง กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ระหว่างปี พ.ศ. 2546-2548 และดำรงตำแหน่ง เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 จนถึงปัจจุบัน
หลัง
การเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2548 พรรคประชาธิปัตย์ ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้บริหารพรรคครั้งใหญ่ นายสุเทพได้รับเลือกเป็น เลขาธิการพรรค และพอดีกับมีบทบาทอย่างมากใน คดียุบพรรค โดยเป็นผู้รวบรวมพยานหลักฐานยื่นฟ้อง พรรคไทยรักไทย และต่อมาพรรคไทยรักไทยถูกวินิจฉัยให้ยุบพรรค โดยกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย 111 คนถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี


ประวัติการดำรงตำแหน่งทางการเมือง
เป็น ส.ส.จังหวัดสุราษฎร์ธานี 9 สมัย (พ.ศ. 2522, 2526, 2529, 2531, 2535/1, 2535/2, 2538, 2539, 2550)
เป็น ส.ส. บัญชีรายชื่อ 2 สมัย (พ.ศ. 2544 และ 2548)
เลขานุการรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. 2524
เลขานุการรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2524-2526
เลขานุการรัฐมนตรีประจำ
สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2526-2529
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2529-2531
ประธานคณะกรรมาธิการการเกษตร พ.ศ. 2531
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2535-2537
ประธานคณะกรรมาธิการคมนาคม พ.ศ. 2539
รัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2540-2543
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พ.ศ. 2542-2546
กรรมการสภาที่ปรึกษา
พรรคประชาธิปัตย์ พ.ศ. 2546-2548
เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ พ.ศ. 2548-ปัจจุบัน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเงา พ.ศ. 2551
รองนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2551-ปัจจุบัน




ให้ผู้เรียนสรุปรายงานจากกลุ่มที่ 9-10-11-12 ลงในบล็อกของผู้เรียนอย่างย่อ ๆ


กลุ่มที่ 9 เรื่อง การเขียนโครงการและการบริหารรการจัการโครงการเพื่อพัฒนานักเรียนและสถานศึกษา

ตอบ ลักษณะของโครงการที่ดีโครงการเป็นการจัดกิจกรรมที่เป็นระบบ เพื่อการปฏิบัติหน้าที่องค์การให้บรรลุถึงเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งโครงการที่ดีย่อมทำให้ประสิทธิภาพของการดำเนินงาน และผลตอบแทนที่องค์การหรือหน่วยงานจะได้รับอย่างคุ้มค่า อันจะนำมาซึ่งการพัฒนาของหน่วยงานนั้นๆ ซึ่ง ประชุม (2535) ได้สรุปลักษณะที่ดีของโครงการดังต่อไปนี้

1. สามารถตอบสนองความต้องการหรือแก้ปัญหาขององค์การหรือหน่วยงานได้

2. มีวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ชัดเจน สามารถดำเนินงานและปฏิบัติได้

3. รายละเอียดของโครงการต้องสอดคล้องและสัมพันธ์กัน กล่าวคือ วัตถุประสงค์ของโครงการต้องสอดคล้องกับหลักการและเหตุผล วิธีการดำเนินงานต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์เป็นต้น

4. รายละเอียดของโครงการสามารถเข้าใจได้ง่าย สะดวกต่อการดำเนินงานตามโครงการ

5. เป็นโครงการที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ สอดคล้องกับแผนงานหลักขององค์การและสามารถติดตามประเมินผลได้6. โครงการต้องกำหนดขึ้นจากข้อมูลที่มีความเป็นจริง และเป็นข้อมูลที่ได้รับการวิเคราะห์อย่างรอบคอบ

7. โครงการต้องได้รับการสนับสนุนในด้านทรัพยากร และการบริหารอย่างเหมาะสม

8. โครงการต้องมีระยะเวลาในการดำเนินงาน กล่าวคือต้องระบุถึงวันเวลาที่เริ่มต้น และสิ้นสุดโครงการข้อสังเกต โครงการที่กำหนดขึ้นแม้เป็นโครงการที่มีลักษณะดีเพียงใด แต่ตัวโครงการก็ไม่อาจแก้ไขปัญหาต่างๆ ขององค์การ หน่วยงาน หรือ สังคมของชนกลุ่มใหญ่ ตามที่ได้เขียนไว้ในโครงการได้ทั้งหมด เพราะการดำเนินโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ในโครงการยังมีส่วนประกอบหรือปัจจัยอื่นๆ อีกมากมายที่อาจทำให้การดำเนินงานของโครงการบรรลุถึงเป้าหมายอย่างด้อยประสิทธิภาพ นอกจากนี้โครงการหนึ่งอาจเป็นโครงการที่ดีที่สุดในระยะหนึ่ง แต่อาจเป็นโครงการที่ใช้ประโยชน์ได้น้อยในอีกเวลาหนึ่งก็เป็นไปได้ผู้เขียนหรือกลุ่มผู้เขียนโครงการอาจจะเป็นคนละคนกับผู้ดำเนินงานตามโครงการหรืออาจจะเป็นคนๆ เดียวกันหรือกลุ่มๆเดียวกันก็ย่อมได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะปัจจัยหลายประการ เช่น ขนาดและชนิดขอโครงการลักษณะของโครงการและอื่นๆ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าโครงการจะมีขนาดเช่นใด ชนิดและประเภทใด ย่อมต้องมีรูปแบบ (Form) หรือโครงสร้าง (Structure) ในการเขียนที่เหมือนกันดังนี้

1. ชื่อโครงการ

2. หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ

3. ผู้รับผิดชอบโครงการ

4. หลักการและเหตุผล

5. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย

6. วิธีดำเนินการ

7. แผนปฏิบัติงาน

8. ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ

9. งบประมาณและทรัพยากรที่ต้องใช้

10. การติดตามและประเมินผลโครงการสรุปแล้วการเขียนโครงการแบบประเพณีนิยมจะต้องมีเนื้อหาสาระที่ละเอียดชัดเจนเฉพาะเจาะจง โดยรูปแบบของโครงการจะสามารถตอบคำถามดังต่อไปนี้ได้ คือ

1. โครงการอะไร หมายถึง ชื่อโครงการ

2. ทำไมต้องทำโครงการนั้น หมายถึง หลักการและเหตุผล

3. ทำเพื่ออะไร หมายถึง วัตถุประสงค์

4. ทำในปริมาณเท่าใด หมายถึง เป้าหมาย

5. ทำอย่างไร หมายถึง วิธีดำเนินการ

6. ทำเมื่อใดและนานแค่ไหน หมายถึง ระยะเวลาดำเนินการ

7. ใช้ทรัพยากรอะไร เท่าใด และได้จากไหน หมายถึง งบประมาณและทรัพยากรอื่นๆ

8. ใครทำ หมายถึง ผู้รับผิดชอบโครงการ

9. ต้องทำกับใคร หมายถึง หน่วยงานหรือบุคคลที่ให้การสนับสนุน

10. ทำได้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายหรือไม่ หมายถึง การประเมินผล

11. เกิดอะไรขึ้นเมื่อสิ้นสุดโครงการ หมายถึง ผลที่คาดว่าจะได้รับ

12. มีปัญหาอุปสรรคหรือไม่ หมายถึง ข้อเสนอแนะโครงการทุกโครงการ หากผู้เขียนโครงการสามารถตอบคำถามทุกคำถามดังกล่าวได้ ทั้งหมดอาจถือได้ว่าเป็นการเขียนโครงการที่มีความสมบูรณ์ในรูปแบบ และหากการตอบคำถามได้อย่างมีเหตุผลและมีหลักการ ย่อมถือได้ว่าโครงการที่เขียนขึ้นนั้นเป็นโครงการที่ดี นอกจากจะได้รับการพิจารณาอนุมัติโดยง่ายแล้ว ผลของการดำเนินงานมักจะมีประสิทธิภาพด้วยปัญหาในการเขียนโครงการในการเขียนโครงการนั้นเป็นการกำหนดกิจกรรมต่างๆ หรือกิจกรรมที่จะทำในอนาคตโดยอาศัยข้อมูลต่างๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันเป็นตัวกำหนดกิจกรรมในโครงการ เมื่อเป็นเช่นนี้หากเป็นโครงการที่ดีย่อมนำมาซึ่งคุณภาพและประสิทธิภาพของหน่วยงาน โครงการบางโครงการเมื่อเขียนขึ้นมาแล้วไม่สามารถนำไปใช้ปฏิบัติได้ เนื่องจากปัญหาต่างๆ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้ 1. ขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถที่แท้จริงในการเขียนโครงการ โครงการจำนวนไม่น้อยที่เขียนขึ้น โดยบุคคลที่ไม่มีความรู้ความสามารถในเรื่องนั้น ขาดข้อมูลที่มีความเป็นจริง หรือขาดข้อมูลที่จะต้องใช้จริง ผู้เขียนโครงการเขียนโครงการโดยได้รับการมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาผลจากการเขียนโครงการในลักษณะนี้จะทำให้เกิดปัญหาแก่ผู้ปฏิบัติโครงการในการจะนำเอาโครงการไปปฏิบัติให้เกิดเป็นผลได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ

2. ระยะเวลาที่ใช้ในการเขียนโครงการ หลายโครงการประสบปัญหาเกี่ยวกับการจัดทำโครงการในระยะอันสั้น ทำให้ไม่สามารถที่จะศึกษาข้อมูลพื้นฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างละเอียด ข้อมูลบางชนิดขาดการวิเคราะห์ที่ดีพอ เมื่อเขียนโครงการขึ้นมาแล้วจึงขาดความชัดเจนของข้อมูล จึงเป็นปัญหายุ่งยากในการนำเอาโครงการไปปฏิบัติ

3. ขาดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ในการเขียนโครงการบางโครงการขาดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนในการเขียนโครงการ เป็นผลให้เกิดความยุ่งยากต่อการตรวจสอบ ควบคุมและติดตามการดำเนินงาน และมีผลสืบเนื่องถึงการประเมินผลโครงการด้วย

4. การเขียนโครงการเป็นเรื่องของอนาคต ที่อาจมีความไม่แน่นอนเกิดขึ้น อันเป็นผลมาจากตัวแปรต่างๆ ที่ผู้เขียนโครงการไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ภัยธรรมชาติต่างๆ หรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด ได้แก่ การเมือง เศรษฐกิจ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนมีผลกระทบต่อการดำเนินงานทั้งสิ้นและเป็นสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้ จึงเป็นปัญหาอย่างสำคัญของการเขียนโครงการ

5. ขาดการสนับสนุนจากผู้บริหารองค์การ ในบางครั้งการเขียนโครงการ แม้จะเขียนดีเพียงใด หากผู้บริหารไม่ให้ความสนใจขาดการสนับสนุนในเรื่องงบประมาณ และทรัพยากรต่างๆที่จำเป็นต่อการทำโครงการอย่างเพียงพอ ย่อมจะสร้างปัญหาให้แก่การดำเนินโครงการได้เช่นเดียวกัน

6. ขาดการประสานงานและร่วมมือจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โครงการบางโครงการจำเป็นที่จะต้องมีการประสานงานกับองค์กรหรือหน่วยงานอื่นๆ เพื่อให้โครงการที่ทำอยู่บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ โครงการที่จะสำเร็จได้จะต้องได้รับความร่วมมือจากองค์กรหรือหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการปฏิบัติตามโครงการด้วย หากขาดการประสานงานและร่วมมือจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องแล้วก็จะทำให้เกิดปัญหาในการทำโครงการ โครงการดังกล่าวก็บรรลุวัตถุประสงค์ได้ยากหรืออาจจะไม่บรรลุวัตถุประสงค์ก็ได้


กลุ่มที่ 10 การเขียนโครงการและการบริหารจัดการโครงการเพื่อพัฒนานักเรียนและสถานศึกษา

ตอบ โครงการ คือเค้าโครงของกิจกรรมที่กำหนดไว้เพื่อพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาตามความต้องการของหน่วยงาน มีลักษณะเป็นแนวทางการดำเนินงานที่บอกถึงความเป็นมา วิธีหรือขั้นตอนการดำเนินงาน ทรัพยากรที่จะใช้ รวมถึงผลสำเร็จที่ต้องการให้เกิดขึ้น เพื่อให้ผู้มีอำนาจอนุมัติ ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมองเห็นภาพตลอดแนวและมีทิศทางในการดำเนินงานเดียวกัน องค์ประกอบของโครงการ โครงการมีองค์ประกอบหลักๆ อยู่ 2 ส่วน คือ ส่วนนำและส่วนโครงการ ซึ่งจะนำเสนอ ดังต่อไปนี้

1. ส่วนนำ ส่วนนำโครงการ เป็นส่วนที่เขียนเพื่อให้เข้าใจว่า โครงการนี้ชื่ออะไร มีลักษณะอย่างไร ใครเป็นผู้รับผิดชอบ และจะดำเนินการเมื่อไร โดยปกติจะอยู่ส่วนต้นของการเขียนโครงการ ประกอบด้วย

1.1 ชื่อโครงการ การเขียนชื่อโครงการควรบอกได้ว่า จะทำอะไร ทำอย่างไร เรื่องอะไร กับใคร นิยมเขียนโดยขึ้นต้นด้วยคำนาม วิธีการ และตามด้วยเรื่องที่จะทำ เช่น “ การประชุมปฏิบัติการเขียนแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ 2552 ” เป็นต้น

1.2 แผนงบประมาณ เป็นการระบุที่มาของงบประมาณ ว่าโครงการนี้ ขอใช้งบประมาณในแผนใด เช่น “เงินงบประมาณ เงินอุดหนุน เงินนอกงบประมาณ ”

1.3 สนองกลยุทธ์ เพื่อให้ทราบว่า โครงการนี้ดำเนินงานตามกลยุทธ์ข้อใดของหน่วยงาน เช่น “กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาระบบบริหารจัดการของโรสงเรียนให้มีความคล่องตัว มีประสิทธิภาพ”

1.4 ผู้รับผิดชอบโครงการ ให้ระบุชื่อ สกุลของผู้รับผิดชอบโครงการ โดยจะระบุตำแหน่งด้วยหรือไม่ก็ได้ เช่น “นางแก้ว กัลยาณี หัวหน้ากลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม”

1.5 หน่วยงานที่รับผิดชอบ ควรระบุ ถึงระดับงาน เช่น “งานแผนงาน โรงเรียนเตรียมอุดม ศึกษาพัฒนาการดอนคลัง”

1.6 ลักษณะของโครงการ โดยทั่วไปจะมี 2 ประเภท ได้แก่

1.6.1 โครงการใหม่ คือโครงการที่จัดทำขึ้นใหม่ ในปีนั้น และสามารถดำเนินการได้เสร็จภายในปีงบประมาณเดียว1.6.2.โครงการต่อเนื่อง คือโครงการที่มีลักษณะต่อเนื่องจากปีที่แล้วมา อาจเป็นโครงการที่ไม่สามารถ

2. ส่วนโครงการ เป็นส่วนที่กล่าวถึง เนื้อหาของการจัดทำโครงการ ประกอบด้วย

2.1 หลักการและเหตุผล ควรบอกถึงความเป็นมา เหตุผลความจำเป็นที่จะต้องจัดทำโครงการนี้ ซึ่งอาจมาจาก 2.1.1 นโยบายของรัฐ นโยบายของหน่วยเหนือ หรือนโยบายของหน่วยงานเอง

2.1.2 ระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

2.1.3 สภาพปัญหา

2.1.4 ความต้องการในการพัฒนา ควรเขียนให้กระชับ ไม่เยิ่นเย้อ ประมาณ 15-25 บรรทัด และสามารถทำให้ผู้อ่านเข้าใจและเห็นความสำคัญของการจัดทำโครงการได้ นิยมเขียนโดยภาพกว้างก่อน เช่น นโยบาย หรือปัญหา แล้วจึงลงมา ถึงตัวโครงการ

2.2 วัตถุประสงค์ เป็นหัวข้อที่สำคัญที่สุดของโครงการ ผู้อนุมัติโครงการจะพิจารณาความเหมาะสมของหัวข้อนี้เป็นพิเศษ ต้องเขียนให้ชัดเจนไม่คลุมเครือ มีความเป็นไปได้ วัดได้ เช่น “ เพื่อให้คณะครูโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการดอนคลัง สามารถใช้เครือข่ายสารสนเทศ สำหรับการเรียนการสอนได้”

2.3 เป้าหมาย ปัจจุบันนิยมเขียนโดยระบุปริมาณหรือคุณภาพที่ต้องการขั้นต่ำ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของ จำนวน ร้อยละ หรือระดับคุณภาพ เช่น “จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการใช้เครือข่ายสารสนเทศเพื่อการศึกษา ให้กับคณะครูโรงเรียนบ้านเปียงหลวง จำนวน 20 คน” หรือ “คณะครูโรงเรียน บ้านเปียงหลวง อย่างน้อยร้อยละ 80 สามารถใช้ระบบเครือข่ายในการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนได้ในระดับดี” เป็นต้น

2.4 กิจกรรม / ระยะเวลา มีรูปแบบการเขียนหลายแบบ อยู่ที่ว่าผู้เขียนโครงการจะเลือกใช้แบบใด เช่น ตาราง แบ่งเป็นข้อ แต่จะต้องแสดงกิจกรรม ขั้นตอน ระยะเวลา การทำงานตามลำดับ ให้เห็นว่าจะทำกิจกรรมอะไรบ้าง เมื่อไร ผู้รับผิดชอบในแต่ละรายกิจกรรมคือใครไว้อย่างชัดเจน เพราะการเพิ่ม ลด งบประมาณจะพิจารณาเป็นรายกิจกรรม ดังนั้นจึงไม่ควรเขียนขั้นตอนหรือกิจกรรมที่กว้างเกินไป เช่น “

1. เสนอโครงการ

2.อนุมัติโครงการ

3. ดำเนินการตามโครงการ

4.สรุปรายงานผล” เพราะการเขียนเช่นนี้จะไม่สามารถพิจารณาได้ว่าโครงการมีกิจกรรมอะไรบ้างเหมาะสมหรือไม่เพียงใด

2.5 งบประมาณ ต้องบอกรายละเอียดของการใช้งบประมาณแต่ละรายการให้ชัดเจนถูกต้อง เช่น ค่าห้องประชุม กี่วัน วันละเท่าไร ค่าอาหารว่าง หรืออาหารกลางวัน กี่คน กี่วัน คนละเท่าไร ค่าเอกสารกี่เล่ม เล่มละเท่าไร รวมแล้วทั้งหมดเป็นงบประมาณที่จะขอใช้เท่าใด และต้องแยกรายการงบประมาณให้ถูกต้องตามหมวดค่าใช้จ่ายด้วย ได้แก่

- ค่าตอบแทน เช่น ค่าตอบแทนวิทยากร ค่าเบี้ยประชุมกรรมการ ค่าอาหารทำการนอกเวลา เป็นต้น

- ค่าใช้สอย เช่น ค่าจ้างเหมาบริการ เช่น อาหารว่าง อาหารกลางวัน ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการเช่น เบี้ยเลี้ยง ค่าพาหนะ ค่าที่พัก เป็นต้น

- ค่าวัสดุ เช่น วัสดุที่ใช้ในการฝึกอบรม และใช้ในการประชุม เช่น กระดาษ กรรไกร กาว แฟ้มเอกสาร เป็นต้น

2.6 การประเมินผล เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ทราบว่าโครงการประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ มากน้อยเพียงใด องค์ประกอบของการประเมินผล มีดังนี้

- ตัวชี้วัดความสำเร็จ เป็นตัวตอบคำถามว่าจะวัดความสำเร็จของโครงการจากอะไร เช่น จำนวน ร้อยละ หรือเวลา เช่น “ร้อยละของคณะครูโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการที่สามารถใช้เครือข่ายสารสนเทศได้ในระดับดี” เป็นต้น - วิธีการ ใช้วิธีการใดในการประเมินผลโครงการ เช่น การสำรวจความคิดเห็น การสังเกต การทดสอบ เป็นต้น

- เครื่องมือ เครื่องมือที่ใช้ควรสอดคล้องกับวิธีการ เช่น แบบสอบถามความคิดเห็น แบบสำรวจความพึงพอใจ แบบสังเกต แบบทดสอบ เป็นต้น

2.7 ผลที่คาดว่าจะได้รับ ต้องเขียนให้เห็นว่าจากการทำโครงการนี้จะมีผลประโยชน์ใดเกิดขึ้นบ้าง อาจเป็นผลในเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ หรือผลลัพธ์ก็ได้ เช่น “เมื่อคณะครูโรงเรียนบ้านเปียงหลวงใช้เครือข่ายสารสนเทศในการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนแล้วจะสามารถยกระดับคุณภาพของผู้เรียนให้สูงขึ้นได้”

ลักษณะของโครงการที่ดี

1. ต้องสอดคล้องและสนองต่อแผนกลยุทธ์ของหน่วยงาน

2. กระชับ ไม่เยิ่นเย้อควรอยู่ระหว่าง 3-7 หน้า

3. ใช้ภาษาที่เป็นทางการและเข้าใจได้ง่าย

4. มีความเป็นไปได้

5. วัดและประเมินผลได้

6. มีองค์ประกอบครบถ้วน

7. ใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ

8. คุ้มค่า

9. แก้ไขปัญหาได้จริง

10. สำเร็จตามเวลาที่กำหนดแนวปฏิบัติในการพัฒนาแผนปฏิบัติการของโรงเรียนเพื่อให้แผนปฏิบัติการของโรงเรียน เป็นแผนปฏิบัติการที่มีประสิทธิภาพซึ่งมีตัวชี้วัดคุณภาพ ดังนี้

1. เป็นแผนปฏิบัติการที่อยู่ในกรอบกลยุทธ์ ที่มั่นใจแล้วว่าจะผลสำเร็จตามวิสัยทัศน์ของโรงเรียน

2. เป็นแผนปฏิบัติการที่ไม่มีจุดอ่อน

3.เป็นแผนปฏิบัติการที่มีการพิจารณาอย่างรอบคอบ แล้วว่า จะนำไปสู่การยกระดับคุณภาพ ตามมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนหรือ นำไปสู่การแก้ปัญหา พัฒนาการเรียนการสอนสิ่งที่โรงเรียนต้องการพัฒนา

2.1 พัฒนาครู ให้เป็นผู้มีความรู้ และสามารถจัดกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย มีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร ( ICT ) , E-Learning และส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่าง ผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข

2.2 พัฒนาระบบการจัดการข้อมูล สารสนเทศ การใช้ข้อมูลต่างๆ ที่เอื้อต่อการทำงานของบุคลากร และการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (SBM)

2.3 พัฒนาผู้เรียน ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา รู้จักแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียนอันจะก่อให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง มีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร ( ICT ) , E-Learning

2.4 พัฒนาโรงเรียน ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ที่ได้มาตรฐานและเหมาะสมต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นที่ยอมรับ ศรัทธา และเป็นต้นแบบของโรงเรียนอื่นและชุมชน

2.5 สร้างเครือข่ายการเรียนรู้ ที่เข้มแข็งของผู้ปกครองและชุมชนโครงการส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน

- การพัฒนาการแนะแนวการศึกษา

- กิจกรรมชุมนุม

- กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารีโครงการบริหารและการจัดการศึกษา

- การพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา

- การวัดผล ประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียน

- การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในโรงเรียน

- การนิเทศการเรียนการสอน

- การรับนักเรียนและจัดทำสำมะโนผู้เรียน

- การส่งเสริมความรู้ด้านวิชาการแก่ชุมชนและสถานศึกษาอื่น

- การพัฒนาศักยภาพครูผู้สอน


กลุ่มที่ 11 การบริหารจัดการเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
ตอบ เรื่องการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา“การบริหารเพื่อพัฒนาคุณภาพ” โดยชี้ให้เห็นว่าผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของการปฏิรูปการศึกษา จึงจำ เป็นที่จะต้องปรับปรุงการผลิตและพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในการปฏิรูปการศึกษา โดยจะต้องสร้างความเข้าใจแก่ผู้บริหารสถานศึกษาในเรื่องต่างๆ เช่น ระบบการศึกษาไทย การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อพัฒนาการบริหารการศึกษา การออกแบบและการปรับเปลี่ยนระบบการศึกษา หลักธรรมาภิบาล ความรู้และทักษะพื้นฐานของผู้บริหารการศึกษา และวิชาชีพผู้บริหาร เป็นต้นในการปฏิรูปการศึกษา พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฯได้นิยามคำ ว่า “ผู้บริหารสถานศึกษา” ไว้ 2 นิยาม คือ ผู้บริหารการศึกษา และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการอื่นๆ อีกหลายอาชีพ แต่ที่กล่าวถึงกันมากคือ ผู้บริหาร เพื่อให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างจริงจังและเพื่อสนองต่อความต้องการของผู้รับบริการทางการศึกษา สถานศึกษาควรดำเนินการดังนี้

1. สถานศึกษาจะต้องดำเนินการประกันคุณภาพภายในเป็นประจำทุกปี

2. ให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารจัดการศึกษา และการทำงานของบุคลากรทุกคนในสถานศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง มีการกำหนดเป้าหมายหรือมาตรฐานการศึกษาที่สอดคล้องกับความมุ่งหมายและหลักการตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ กำหนดระยะเวลาในการดำเนินการที่ชัดเจน และดำเนินงานตามแผน ติดตามประเมินผลการทำงานของตนเองอย่างต่อเนื่อง และนำผลการประเมินมาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เกิดกับผู้เรียนเป็นสำคัญ ไม่ใช่มุ่งเน้นการจับผิดหรือให้คุณให้โทษบุคลากรของสถานศึกษา

3. การดำเนินการประกันคุณภาพทุกขั้นตอนให้เน้นการประสานงานและการมีส่วนร่วมของทุกกลุ่มทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ บุคลากรทุกคนในสถานศึกษา กรรมการโรงเรียน ผู้ปกครอง บุคลากรของหน่วยงาน และองค์กรต่าง ๆ ในชุมชน เขตพื้นที่การศึกษาและภูมิภาคเพื่อให้สอดคล้องกับหลักการในการให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาตามมาตรา 8 ของ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ โดยสถานศึกษาควรช่วยเตรียมพร้อมให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเกิดความตระหนัก เห็นคุณค่าและมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา

4. สถานศึกษาจะต้องจัดทำรายงานประจำปีการศึกษาให้เรียบร้องภายในเดือนเมษายนของทุกปี โดยให้แสดงผลการประเมินคุณภาพการศึกษา แนวทางหรือแผนงานในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาในปีการศึกษาต่อไป แล้วเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามที่กระทรวงกำหนด และสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ตลอดจนสาธารณชน โดยจัดทำรายงานโดยสรุป ปิดประกาศไว้ที่โรงเรียน แจังให้ผู้ปกคองและเผยแพร่ต่อสาธารณชนได้รับทราบ รวมทั้งมีรายงานฉบับสมบูรณ์ที่พร้อมจะให้ผู้ที่สนใจขอดูได้ตลอดเวลา

5. จัดเตรียมเอกสารหลักฐานและข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา และมาตรฐานการศึกษาเพื่อการประเมินคุณภาพภายนอก ที่มุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียน และแนวทางการจัดการศึกษา ตามหลักการและจุดมุ่งหมายของ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ และเตรียมพร้อมเพื่อรับการประเมินคุณภาพภายนอก โดยบุคลากรที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกรอบห้าปีประโยชน์ของการประกันคุณภาพการศึกษาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาจะทำให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีโอกาสได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการและการพัฒนาการศึกษาทุกขั้นตอน ตั้งแต่การกำหนดเป้าหมาย/การวางแผน การทำตามแผน การประเมินผล และการนำผลการประเมินมาปรับปรุงการดำเนินงาน นอกจากนี้การประกันคุณภาพการศึกษายังเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องดังนี้

· ผู้เรียนและผู้ปกครองมีหลักประกันและความมั่นใจว่าสถานศึกษาจะจัดการศึกษาที่มีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด

· ครูได้ทำงานอย่างมืออาชีพ ได้ทำงานที่เป็นระบบที่ดี มีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ และเน้นวัฒนธรรมคุณภาพ ได้พัฒนาตนเองและผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ทำให้เป็นที่ยอมรับของผู้ปกครองและชุมชน

· ผู้บริหารได้ใช้ภาวะผู้นำ และความรู้ความสามารถในการบริหารงานอย่างเป็นระบบ และมีความโปร่งใส เพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับและนิยมชมชอบของผู้ปกครองและชุมชน ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจและเป็นประโยชน์ต่อสังคม

· หน่วยงานที่กำกับดูแลได้สถานศึกษาที่มีคุณภาพและศักยภาพในการพัฒนาตนเอง ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระในการกำกับดูแลสถานศึกษา และก่อให้เกิดความมั่นใจในคุณภาพพทางการศึกษา และคุณภาพของสถานศึกษา

· ผู้ประกอบการ ชุมชน สังคม และประเทศชาติได้เยาวชนและคนที่ดีมีคุณภาพและศักยภาพที่จะช่วยทำงานพัฒนาองค์กร ชุมชน สังคมและประเทศชาติต่อไป


กลุ่มที่ 12 เรื่อง การประเมินคุณภาพการศึกษา
ตอบ การประเมินคุณภาพการศึกษา การประเมินคุณภาพการศึกษา เป็นกระบวนการต่อเนื่องจากการตรวจสอบคุณภาพการศึกษา แต่จะเน้นการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย/คณะ/วิทยาลัย กับตัวบ่งชี้คุณภาพในทุกองค์ประกอบของคุณภาพว่า การดำเนินงานเป็นไปตามเกณฑ์และมาตรฐานการศึกษาที่กำหนดมากน้อยเพียรไร โดยจัดเป็นระดับของการบรรลุเป้าหมาย1 หลักการประเมินคุณภาพ เนื่องจากการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของอุดมศึกษาเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง ทั้งเพื่อความอยู่รอด การพัฒนา และความสามารถในการแข่งขันทั้งในระยะสั้นและระยะยาวของประเทศ เครื่องมือสำคัญที่จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาดังกล่าวข้างต้นอย่างต่อเนื่องก็คือ การประเมินคุณภาพการศึกษา ซึ่งต้องครอบคลุมทั้งการประเมินคุณภาพภายนอกสถาบันอุดมศึกษา และการประกันคุณภาพภายในของสถาบันอุดมศึกษา การประเมินคุณภาพภายนอก มีหลักการสำคัญ 5 ประการ ดังต่อไปนี้

1) เป็นการประเมินเพื่อมุ่งให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ไม่ได้มุ่งเน้นเรื่องการ ตัดสิน การจับผิด หรือการให้คุณ - ให้โทษ

2) ยึดหลักความเที่ยงตรง เป็นธรรม โปร่งใส มีหลักฐานข้อมูลตามสภาพความเป็นจริง ( Evidence - base ) และมีความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ (Accountability)

3) มุ่งเน้นในเรื่องการส่งเสริมและประสานงานในลักษณะกัลยาณมิตรมากกว่าการกำกับควบคุม

4) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการประเมินคุณภาพและการพัฒนาการจัดการศึกษาจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

5) มุ่งสร้างความสมดุลระหว่างเสรีภาพทางการศึกษากับจุดมุ่งหมายและหลักการศึกษาของชาติตามที่ได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม ( ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2545 โดยให้เอกภาพเชิงนโยบาย แต่ยังคงมีความหลากหลายในทางปฏิบัติที่สถาบันสามารถกำหนดเป้าหมายเฉพาะและพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เต็มตามศักยภาพของสถาบันและผู้เรียน2 แนวทางในการประเมินภายใน

1) การประเมินภายในเริ่มด้วยการศึกษาตนเองของมหาวิทยาลัย / คณะ / วิทยาลัยที่รับผิดชอบ

2) ประเมินตามภารกิจหลักทั้ง 4 ประการ ของมหาวิทยาลัย / คณะ / วิทยาลัย

3) ผู้บริหาร / คณาจารย์ และนักศึกษา มีส่วนร่วมในการประเมิน

4) ประเมินเพื่อปรับปรุงคุณภาพการศึกษาให้ดียิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์การประเมินคุณภาพวัตถุประสงค์ทั่วไป

1) เพื่อให้ทราบระดับคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษาในการดำเนินภารกิจด้านต่างๆ

2) เพื่อกระตุ้นเตือนให้สถาบันอุดมศึกษาพัฒนาการศึกษา และประสิทธิภาพการบริหารจัดการอย่างต่อเนื่อง

3) เพื่อให้ทราบความก้าวหน้าของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา

4) เพื่อรายงานสถานภาพและพัฒนาการในด้านคุณภาพและมาตรฐานของสถาบันอุดมศึกษาต่อสาธารณชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง