ดาวน์โหลดสกินที่ http://flash-mini.com/skinhi5/

วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553


ใบงานที่ 9

บุคคลที่คุณคิดว่าเป็นผู้นำในทัศนคติของคุณ

คือ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ

ประวัติทั่วไป

"นายสุเทพ เทือกสุบรรณ" เกิดวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 เป็นบุตรนายจรัส เทือกสุบรรณกำนันตำบลท่าสะท้อน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี และนางละม้าย เทือกสุบรรณ มีพี่น้องท้องเดียวกัน 7 คนคือ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ นางศิริรัตน์กับนางรัชนี (เป็นคู่แฝด) นายเชน เทือกสุบรรณ นางจิราภรณ์ เทือกสุบรรณ นายธานี เทือกสุบรรณ และนางกิ่งกาญจน์ เทือกสุบรรณ
นายสุเทพสำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต (รัฐศาสตร์) จาก
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2515 และสำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาโท M.A. Political Sciences จาก Middle Tennesse State University ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2518 หลังจากสำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาโทกลับมา นายสุเทพได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น กำนันตำบลท่าสะท้อน ต่อจากกำนันจรัส ผู้เป็นบิดา และชนะเลือกตั้ง ทำให้ได้เป็นกำนัน ขณะมีอายุเพียงประมาณ 26 ปี โดยมีวุฒิการศึกษาระดับ ปริญญาโทจากเมืองนอก ขณะที่ประเทศไทยในช่วงนั้น รัฐมนตรีบางกระทรวง ยังจบการศึกษา แค่ประถมศึกษาปีที่ 4[ต้องการอ้างอิง]
ต่อมานายสุเทพตัดสินใจลงเล่นการเมืองระดับประเทศ โดยลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทำให้ตำแหน่งกำนันตำบลท่าสะท้อนว่างลง และมีน้าชายของนายสุเทพมาดำรงตำแหน่งต่อ และตามด้วย
นายธานี เทือกสุบรรณ ผู้เป็นน้องชายของนายสุเทพ มาดำรงตำแหน่งต่ออีก 10 ปี จนลาออก เพื่อลงเล่นการเมืองระดับจังหวัด ในที่สุดกำนันจรัส บิดาของนายสุเทพ ได้กลับเข้าดำรงตำแหน่ง กำนันตำบลท่าสะท้อน อีกครั้งหนึ่งด้วยวัย 76 ปี โดยได้รับเลือกตั้งอย่างไร้คู่แข่งขัน กลายเป็นเจ้าของสถิติ กำนันผู้มีอายุสูงที่สุดในประเทศไทยปัจจุบันนายสุเทพ เทือกสุบรรณ สมรสกับ นางศรีสกุล พร้อมพันธุ์ ซึ่งเป็นน้องสาวของนายนิพนธ์ พร้อมพันธ์ และอดีตภรรยาของนายพรเทพ เตชะไพบูลย์ มีบุตรชาย 1 คน บุตรสาว 2 คน คือ นายแทน เทือกสุบรรณ, น.ส.น้ำตาล เทือกสุบรรณ และ น.ส.น้ำทิพย์ เทือกสุบรรณ


การทำงานการเมืองระดับประเทศ
นายสุเทพ เข้าสู่วงการเมืองระดับประเทศ ได้เป็น ส.ส.จังหวัดสุราษฎร์ธานี สมัยแรกเมื่อปี พ.ศ. 2522 และหลังจากนั้นสามารถชนะเลือกตั้ง ได้เป็น ส.ส. อย่างต่อเนื่องถึง 10 สมัย และดำรงตำแหน่งสำคัญระดับรัฐมนตรี คือ รัฐมนตรีช่วยว่าการ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2 สมัย และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
สมัยเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายสุเทพถูกพรรคฝ่ายค้านคือ พรรคชาติไทย ที่มีนายบรรหาร ศิลปอาชาเป็นหัวหน้าพรรค เปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ กรณีเกิดการทุจริตในการแจกที่ดินทำกินแก่เกษตรกร หรือที่เรียกกันว่า สปก.4-01 โดยในครั้งนั้นพรรคชาติไทยมี นายเนวิน ชิดชอบ เป็นกำลังสำคัญนำอภิปรายใน สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งส่งผลให้ นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีต้องตัดสินใจ ยุบสภา ก่อนที่จะมีการลงมติ และจัดให้มีการ เลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2538 ซึ่งผลการเลือกตั้ง พรรคชาติไทย ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล โดย นายบรรหาร ศิลปอาชา ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็น นายกรัฐมนตรี คนที่ 21 ของประเทศไทย ส่วนนายเนวินได้ขึ้นดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรี เป็นครั้งแรกในชีวิต ด้วยตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
แม้ว่านับตั้งแต่ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจในปี พ.ศ. 2538 นายสุเทพ ไม่เคยถูกฟ้องร้องดำเนินคดีในชั้นศาลเกี่ยวกับกรณี สปก.4-01 แต่อย่างใด (แต่ศาลฎีกาพิพากษาสั่งให้ ทศพร เทพบุตร ออกจากที่ดินหลวงที่ยึดครองเป็นสมบัติส่วนตัวนานถึง 12 ปี) แต่ยังคงมีการนำกรณีดังกล่าว มาอ้างอิงเพื่อโจมตีทางการเมืองต่อนายสุเทพ และพรรคประชาธิปัตย์มาโดยตลอด
นายสุเทพ เคยดำรงตำแหน่งเป็น รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ระหว่างปี พ.ศ. 2542-2546 ดำรงตำแหน่ง กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ระหว่างปี พ.ศ. 2546-2548 และดำรงตำแหน่ง เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 จนถึงปัจจุบัน
หลัง
การเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2548 พรรคประชาธิปัตย์ ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้บริหารพรรคครั้งใหญ่ นายสุเทพได้รับเลือกเป็น เลขาธิการพรรค และพอดีกับมีบทบาทอย่างมากใน คดียุบพรรค โดยเป็นผู้รวบรวมพยานหลักฐานยื่นฟ้อง พรรคไทยรักไทย และต่อมาพรรคไทยรักไทยถูกวินิจฉัยให้ยุบพรรค โดยกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย 111 คนถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี


ประวัติการดำรงตำแหน่งทางการเมือง
เป็น ส.ส.จังหวัดสุราษฎร์ธานี 9 สมัย (พ.ศ. 2522, 2526, 2529, 2531, 2535/1, 2535/2, 2538, 2539, 2550)
เป็น ส.ส. บัญชีรายชื่อ 2 สมัย (พ.ศ. 2544 และ 2548)
เลขานุการรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. 2524
เลขานุการรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2524-2526
เลขานุการรัฐมนตรีประจำ
สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2526-2529
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2529-2531
ประธานคณะกรรมาธิการการเกษตร พ.ศ. 2531
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2535-2537
ประธานคณะกรรมาธิการคมนาคม พ.ศ. 2539
รัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2540-2543
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พ.ศ. 2542-2546
กรรมการสภาที่ปรึกษา
พรรคประชาธิปัตย์ พ.ศ. 2546-2548
เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ พ.ศ. 2548-ปัจจุบัน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเงา พ.ศ. 2551
รองนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2551-ปัจจุบัน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น